ศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร และรถเช่า ที่ทันสมัยที่สุดในจังหวัดปราจีนบุรี

 
 
หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา รถเช่า บริการของเรา ติดต่อเรา
HOTLINE : 086-3665967 | | เพิ่มเพื่อน

CAR RENTAL CENTER : 086-3665967

สยามยางยนต์ กบินทร์บุรี | สยามยางยนต์ นิคม 304

 

CAR SERVICE

Knowledge

ผลิตภัณฑ์ และบริการ
ยางรถยนต์ น้ำมันเครื่อง แบตเตอรี่ เบรค ช่วงล่าง ติดตั้งแก๊ส / E85 บริการอื่นๆ
เพิ่มเติม
Knowledge
CAR RENT
CAR SERVICE
GAS SERVICE
ALL
Tires
Lubricant
Brake
Battery
Shock-Up
Other

ทำไม? น้ำมันเกียร์ สำคัญยิ่งกว่า น้ำมันเครื่อง

 

สิ่งประดิษฐ์ที่ดีจริง ถึงจะไม่ได้รับความนิยม หรือความเชื่อถือในตอนแรก หรือเคยถูกใช้อย่างแพร่หลายมาก่อน แต่ถูกของใหม่เข้ามาแทนที่ตามสมัยนิยมก็ตาม วันหนึ่งอาจได้รับการยอมรับอีกก็ได้ เช่นเดียว เกียร์ ซีวีที (CVT) ซึ่งเป็นอักษรหน้าของ CONTINUOUSLY VARIABLE TRANSMISSION หรือเกียร์ที่เปลี่ยนอัตราทดได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็คือเกียร์ที่เลือกใช้อัตราทดได้มากมาย ไม่ใช่แค่ 4, 5, 6, 7 หรือ 8 เกียร์ ตามจำนวนชุดฟันเฟืองของเกียร์แบบอื่น เพราะแทนที่จะใช้ฟันเฟืองถ่ายทอดกำลังของเครื่องยนต์ไปสู่ล้อ 

เกียร์ เหล่านี้ใช้สายพานเหล็กกล้าถ่ายทอดกำลัง โดยให้มันคาดอยู่กับร่องทรงลิ่มของพูลเลย์สองชุด ชุดหนึ่งเป็นชุดออกกำลัง(แรงบิด) ขับ รับกำลังในรูปของแรงบิดมาจากเครื่องยนต์โดยผ่านทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ ที่เรียกกันง่ายๆ แต่ช่วยให้เข้าใจได้ดีว่า คลัทช์น้ำมัน ซึ่งจำเป็นต้องมี เพื่อให้เครื่องยนต์ยังทำงานที่รอบเบาได้ตอนหยุดรถ และเกียร์รับแรงบิดรออยู่ ในสภาพพร้อมออกรถ ทันทีที่เรายกเท้าจากแป้นเบรค แล้วเหยียบคันเร่ง

ภาพ: ระบบเกียร์แปรผันอัจฉริยะ XTRONIC CVT

 

ส่วนอีกชุดเป็นชุดรับกำลัง(แรงบิด) แล้วส่งต่อผ่านเพลาขับไปสู่ล้อขับเคลื่อน พูลเลย์ทั้งสองชุดนี้ถูกปรับความกว้างได้ ว่าจะเป็นสายพาน “จม” ลึก แค่ไหน ถ้าต้องการให้จม ระบบควบคุมก็จะถ่างมันออกจากกัน เส้นผ่านศูนย์กลางของส่วนที่ผนังพูลเลย์อัดกับด้านข้างทั้งสองของสายพานก็จะ เล็กลง ถ้าเลื่อนผนังพูลเลย์เข้าหากัน ร่องก็จะแคบลง และจะ “รีด” สายพานให้ “ลอย” ขึ้น ซึ่งก็คือการเพิ่มเส้นผ่านศูนย์กลางนั่นเอง ตอนออกรถ ซึ่งต้องการทดแรงบิดไปสู่ล้อให้มากที่สุด ร่องพูลเลย์ชุดขับจะกว้างสุด ส่วนร่องพูลเลย์ชุดที่ถูกขับ จะแคบสุด โดยมีข้อแม้ว่า ความกว้างและแคบของพูลเลย์ทั้งสองชุด จะต้องสัมพันธ์กัน ภายใต้เงื่อนไข ให้สายพานตึงอยู่ตลอดเวลา มิฉะนั้นสายพานก็จะลื่นครูดกับผนังของพูลเลย์ 

สายพาน ของเกียร์ ซีวีที เป็นประดิษฐกรรมพิเศษมาก เพื่อให้ทำหน้าที่หลายอย่างได้ครบถ้วนในเวลาเดียวกัน และมีอายุใช้งานยืนยาวพอ ด้วยสายพานจะต้องถูกผนังพูลเลย์อัดอย่างแรง เพื่อส่งกำลังด้วยแรงเสียดทาน และจะต้องรับแรงดึงที่ขึงสายพานให้อัดกับผนังพูลเลย์ ต้องงอได้ดีในช่วงที่ถูกคาดในร่องพูลเลย์ และในขณะเดียวกันต้องรับแรงดันในแนวตรงได้ดีด้วย เพราะเกียร์ ซีวีที ส่งกำลังผ่านสายพานในรูปของแรงดันครับ ไม่ใช่แรงดึงแบบสายพานยาง ที่ขับคอมเพรสเซอร์ “แอร์” ปั้มน้ำ อัลเทอร์เนเตอร์ ผนัง ของสายพานและผนังพูลเลย์ ต้องแข็งแกร่งต้านการสึกหรอได้ดีด้วย สายพานของเกียร์ ซีวีที จึงมีโครงสร้าง และรูปร่างหน้าตาที่แปลกประหลาดพอสมควร คือ ประกอบด้วยแผ่นเหล็กกล้า เนื้อพิเศษระดับไม่เปิดเผยข้อมูลให้รับรู้ง่ายๆ เรียบประกบกันเป็นแนวตรง โดยแต่ละแผ่นถูกผ่าด้านข้างทั้งสอง ให้เป็นช่องสำหรับคาดสายพานรับแรงดึง ที่ทำจากเหล็กกล้าบางเฉียบซ้อนกันเพื่อให้งอตัวได้ดี แผ่นเหล็กจะเคลื่อนขยับตัวได้คล่อง เพื่อไม่ให้เกิดแรงต้านตอนเส้นสายพานทั้งชุด ถูกงออยู่ในร่องพูลเลย์ การทำงานด้วยการรับแรงดันแทนแรงดึงนี้ พวกเราไม่คุ้นเคยกันเลยครับ ทำให้ทุกคนที่ผมเคยอธิบาย ล้วนทำท่าไม่อยากเชื่อ เพราะมันฝืนความคุ้นเคยจนเข้าใจยาก

ผมขอยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ นะครับ ให้พูลเลย์ ชุดขับอยู่ทางขวามือของเรา ส่วนชุดถูกขับอยู่ทางซ้ายมือ ให้พูลเลย์ชุดขับหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยเรามองด้านข้างของมันอยู่ สมมติว่าเป็นการทำงานของสายพานยาง ซึ่งทำงานด้วยแรงดึง (PULL-BELT) ส่วนบนของสายพานจะถูกดึงตึง ส่วนด้านล่างก็จะหย่อน มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการตั้งความตึงของเรา ตอนที่มันอยู่นิ่ง

 

ภาพ ชุดเกียร์ CVT Honda HR-V

 

แต่ถ้าเป็นการทำงานของสายพานและพูลเลย์ในเกียร์ ซีวีที ส่วนที่ส่งกำลัง คือ ด้านล่างครับ แผ่นเหล็กจะถูกอัดเข้าหากันในแนวเส้นตรง เพราะแต่ละแผ่นเรียบและมีความหนาเท่ากันทุกส่วน จึงไม่ต้องกลัวว่าสายพานจะขาด ส่วนบนของสายพานก็ยังคงตึงอยู่พอสมควรครับ เพราะต้องขึงตึงเพื่อไม่ให้มันลื่นกับผนังพูลเลย์ ความตึงส่วนนี้อาศัยสายพานเหล็กกล้าทั้งสองเส้นให้รับแรงครับ สายพานเกียร์ ซีวีที จึงอยู่ในกลุ่มสายพานแรงดัน (PULSH-BELT)

 

 

การทำงานของเกียร์ CVT Toyota Motor Thailand

https://www.youtube.com/watch?v=8naqkfGyw00 คลิปการทำงานของระบบเกีนร์ CVT TOYOTa

 

ดูจากหลักการทำงานของมันแล้ว เราพอจะจินตนาการได้เลยว่า ถึงจะใช้โลหะแข็งแกร่งอย่างไร ก็ต้องพึ่งพาน้ำมันหล่อลื่นสูตรพิเศษสุดยอด ที่จะทำให้มันขับเคลื่อนรถของเราได้เป็นแสนกิโลเมตร น้ำมันหล่อลื่นเกียร์อัตโนมัติ แบบดั้งเดิมไม่มีทางรับภาระหน้าที่หนักหน่วงนี้ได้เลย ถึงจะเป็นเกียร์อัตโนมัติทั้งสองแบบ แต่อันตรายจากการใช้น้ำมันหล่อลื่นผิด ทำ ให้ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่เรียกน้ำมันหล่อลื่นเกียร์ ซีวีที ว่า เอทีเอฟ (ATF) แต่เปลี่ยนให้แตกต่างชัดเจนว่า ซีวีที-เอฟ (CVT-F) น้ำมันเกียร์อัตโนมัติแบบดั้งเดิม ( AUTOMATIC TRANSMISSION FLUID) มีหน้าที่สำคัญ คือ หล่อลื่นผิวโลหะ ส่งผ่านกำลังในทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ แบบไฮโดรไดนามิคส์ จึงต้องไม่เกิดฟอง เวลาถูก “ปั่น” หรือ “กวน” ด้วยความเร็วสูง ต้องรักษาความหนืดหรือความข้นให้คงที่ ในระยะเวลาใช้งานยาวนาน ไม่เสื่อมสภาพง่ายเพราะถูกออกซิเจน 

ส่วน น้ำมันหล่อลื่นเกียร์ ซีวีที(CVT-FLUID) ต้องสร้างความฝืดระหว่างผิวโลหะได้ดีครับ มิฉะนั้นสายพานก็จะลื่น ครูดกับผนังพูลเลย์ ในขณะเดียวกันกับที่สร้างความฝืดได้ดี แต่ถ้ามีการเสียดสีกันบ้าง ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว ตอนแผ่นเหล็กเข้าสู่ หรือออกจากร่องพูลเลย์น้ำมันเกียร์ ซีวีที ก็จะต้องต้านการสึกหรอของโลหะได้ดีด้วย 

การอัดกันระหว่างสันของแผ่น โลหะ ซึ่งผมขอเรียกให้เข้าใจง่ายว่า ข้อของสายพาน กับผนังของพูลเลย์ จะเกิดความดันสูงมากระหว่างผิวโลหะ นั่นหมายถึงอุณหภูมิที่สูงมากนั่นเอง น้ำมันเกียร์ ซีวีที จะต้องทนต่อความร้อนระดับนี้ได้ด้วย

 

ถ้า เราดูแต่หัวข้อเดียวที่แตกต่างกัน ระหว่างน้ำมันเกียร์ทั้งสอง คือ ฝ่ายหนึ่งต้องทำให้ลื่น แต่อีกฝ่ายต้องทำให้ฝืด ก็เข้าใจได้ไม่ยากนะครับ ว่าขืนเอา เอทีเอฟ ไม่ว่าจะ DEXRON 2 หรือ 3 หรือเท่าใดก็ตาม ไปกรอกใส่เกียร์ ซีวีที มันก็จะพินาศ ไปในระยะเวลาอันสั้นอย่างแน่นอน 

ดู เหมือนว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นบ่อยพอสมควร กับรถญี่ปุ่นขนาดเล็กยอดนิยม แล้วความเสียหายระดับนี้ ซ่อมไม่ได้ครับ หรือถึงจะได้ ก็ไม่คุ้ม ค่าเกียร์ลูกใหม่บางทีก็ราคาเกือบครึ่งของมูลค่ารถ(ขณะนี้) นี่คือโทษของการประหยัดแบบเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย โดยการเลี่ยงไม่ส่งรถเข้าบำรุงรักษากับศูนย์บริการเป็นทางการ จึงถูกเปลื่ยนน้ำมันเกียร์ด้วย เอทีเอฟ แต่รถที่เข้าศูนย์บริการเป็นทางการตลอด หรือมิได้ใช้น้ำมันเกียร์ผิด แล้วเกียร์ชำรุด ก็มีเหมือนกันนะครับ 

โปรดอย่าเอาเรื่องของผม ไปกล่าวหาลูกค้าเพื่อบ่ายเบี่ยงความรับผิดชอบเป็นอันขาด ผมได้รับรู้มานาน และมากรายพอสมควรครับ ที่ผู้จำหน่ายมักจะแก้ตัว ผัดผ่อน หรือถึงขั้นหลอกล่อให้ลูกค้าเข้าใจผิด เพื่อให้พ้นความรับผิดชอบ จนกว่าจะหมดเวลารับประกันคุณภาพ 

ใครที่มั่นใจว่าได้มอบหมาย ให้ศูนย์บริการเป็นทางการ ดูแลตามกำหนด แล้วยังต้องพบกับปัญหานี้ อย่ายอมเป็นเบี้ยล่างครับ เงินที่นำมาซื้อรถเป็นเงินที่เราหามาด้วยความเหนื่อยยาก ต้องได้สินค้าที่คุณภาพครบถ้วนตอบแทนครับ...(สคบ.) น่าจะเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนผู้บริโภคอย่างเราได้ ผมหวังเช่นนี้จริงๆ 

ใครที่มีความสามารถเชิงช่าง หรือจะจ้างช่างเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเกียร์แบบนี้ น้ำมันเกียร์ CVT-F จากศูนย์บริการด้วยตัวเอง จึงจะปลอดภัยที่สุดครับ

การ ใช้น้ำมันเครื่องต่างจากที่ผู้ผลิตรถกำหนดไว้ ถึงจะผิด เช่น เอาน้ำมันสำหรับเครื่องดีเซล มาใส่เครื่องเบนซิน หรือว่ากลับกัน หรือค่าความหนืดไม่เหมาะ ก็ไม่เกิดความเสียหายครับ การหล่อลื่นอาจจะไม่ได้ผลเต็มที่เท่านั้นเอง แต่การเอาน้ำมันเกียร์ชนิดอื่นมาใส่เกียร์ ซีวีที เกียร์ของคุณจะชำรุดหมดทางแก้ไขในเวลาอันสั้น และอีกอย่างแน่นอนด้วย ถ้าจะยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ก็น่าจะระดับเดียวกับการเอาน้ำมันพืชสำหรับปรุงอาหาร มาใส่แทนน้ำมันกียร์ของเกียร์ธรรมดานี่แหละครับ

ที่มา http://www.autoinfo.co.th/page/th/article_event/detail.php?id=29157 FORMULA MAGAZINE ฉบับมีนาคม 2011 เขียนโดย เจษฎา ตัณฑเศรษฐี